วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี


ผู้แต่ง
                      สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 

ประวัติผู้แต่ง
                      สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  ทรงเป็นพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นผู้ถวายพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดากิติวัฒนาดุลโสภาคย์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรง พระปรีชาสามารถ ในด้านต่างๆ ด้านภาษาและวรรณคดี ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมร้อยแก้ว ร้อยกรอง และงานแปล งานพระราชนิพนธ์ที่รู้จักแพร่หลาย ได้แก่ ย่ำแดนมังกร แก้วจอมซน ดั่งดวงแก้ว เป็นต้น


จุดมุ่งหมายในการแต่ง

                      เพื่อแสดงพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและบทกวีจีน ซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ของชาวนา

ลักษณะคำประพันธ์                                                                      
                     ร้อยแก้ว  ประเภทบทความ

ความเป็นมา
                      ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  มีที่มาจากหนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  เรื่อง  มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533  ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ รอบ  โดยนิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  รุ่นที่ 41  พระราชนิพนธ์นั้นแสดงให้เห็นแนวพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและจีนที่กล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ของชาวนาซึ่งมีสภาพชีวิตที่ไม่แตกต่างกันนัก

เรื่องย่อ
                      เนื้อความในตอนแรกของบทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ- สยามบรมราชกุมารีได้ทรงยกบทกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์ ซึ่งได้กล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา
                      ต่อมาทรงแปลบทกวีจีนของหลี่เชินเป็นภาษาไทยทำให้มองเห็นภาพของชาวนาจีน เมื่อเปรียบเทียบกับชาวนาไทยว่า
 มิได้มีความแตกต่างกัน แม้ในฤดูกาลเพาะปลูก ภูมิอากาศจะเอื้ออำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี  แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นของผู้ผลิต คือ  ชาวนาเท่าที่ควร  ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ  ทรงชี้ให้เห็นว่าแม้จิตร  
ภูมิศักดิ์ และหลี่เชินจะมีกลวิธีการนำเสนอบทกวีที่แตกต่างกัน แต่ทั้งสองท่าน มีแนวความคิดที่คล้ายกัน คือมุ่งที่จะกล่าวถึงความทุกข์ยากของชาวนาและทำให้เห็นว่าชาวนาในทุกแห่งและทุกยุคทุกสมัยล้วนประสบแต่ความทุกข์ยากไม่แตกต่างกันเลย                                   
                     
ข้อคิดที่ได้รับ    
                      1. ทำให้เข้าใจความรู้สึกของชาวนาที่ต้องประสบปัญหาต่างๆ
                      2. ทำให้ได้รู้ถึงความทุกข์ยากความลำบากของชาวนาในการปลูกข้าว
                      3. ทำให้ได้เห็นถึงคุณค่าของข้าวที่ได้รับประทานเป็นอาหารหลักในการดำรงชีวิตอยู่ของมนุษย์

มงคลสูตรคำฉันท์


มงคลสูตรคำฉันท์  เป็นวรรณคดี  คำสอน  ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงนำหลักธรรม ที่เป็นพระคาถาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นคำประพันธ์ที่ ไพเราะ  มีความงดงามทั้งด้านเสียงและความหมาย  สามารถจดจำได้ง่าย  มงคลสูตรคำฉันท์นี้จะเกิดแต่ตัวเราเองได้ก็ต้องเป็นผลมาจากการประพฤติ ปฏิบัติดีของตนเองเท่านั้น  หาได้มาจากปัจจัยอื่นเลย
         ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
       ลักษณะคำประพันธ์ :  กาพย์ฉบัง ๑๖ และอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ แทรกคาถาบาลี
       จุดมุ่งหมายในการแต่ง : เพื่อให้ตระหนักว่าสิริมงคลจะเกิดแก่ผู้ใดก็เพียงผลมาจากการปฏิบัติของตนทั้งสิ้นไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใดจะทำให้เกิดสิริมงคลแก่เราได้  นอกจากตัวเราเอง
        ความเป็นมา
         เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเภทคำฉันท์  โดยใช้คำประพันธ์ ๒ ชนิดคือ  กาพย์ฉบัง ๑๖ และอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ ทรงนำคาถาภาษาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย  ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี  การจัดวางลำดับของมงคลแต่ละข้อก็เป็นไปตามที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านภาษาได้อย่างดียิ่ง
อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา
ปูชา จ ปูชนียานํ  เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
หนึ่งคือบ่คบพาล  เพราะจะพาประพฤติผิด
หนึ่งคบกะบัณฑิต  เพราะจะพาประสบผล
หนึ่งกราบและบูชา อภิบูชนีย์ชน
ข้อนี้แหละมงคล  อดิเรกอุดมดี
        เรื่องย่อ
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงมงคลอันสูงสุด ๓๘ ประการ  ไว้ในมงคลสูตร  ซึ่งเป็นพระสุตรสำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนา  มงคลสูตรปรากฏในพระสุตตันตปิฏก  ขุททกนิกาย  หมวดขุททกปาฐะ พระอานนทเถระได้กล่าวถึงที่มาของมงคลสูตรว่า  ท่านได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ณ เชตวันวิหาร  กรุงสาวัตถี มงคลสูตรนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจคำถาม  คือ  พระพุทธเจ้าทรงเล่าให้พระอานนท์ฟังว่า  มีเทวดาเข้ามาทูลถามพระองค์เรื่องมงคล  เพราะเกิดความโกลาหลวุ่นวายขึ้นทั้งในหมู่เทวดาและมนุษย์  ที่มีลัทธิเรื่องมงคลแตกต่างกันเป็นเวลานานถึง ๑๒ ปี  ท้าวสักกเทวราชจึงทรงมอบหมายให้ตนมาทูลถาม  พระพุทธองค์จึงตรัสตอบเรื่องมงคล ๓๘ ประการ  ต่อจากราตรีนั้นพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงเรื่องมงคลนี้แก่พระอานนท์อีกครั้ง หนึ่ง
        ใจความสำคัญของมงคลสูตรคำฉันท์
คาถาบทที่          ไม่ควรคบคนชั่วเพราะจะพาให้เราประพฤติชั่วไปด้วย  ควรคบคนดีมีความรู้เพราะจะนำเราไปสู่ความสำเร็จ และควรบูชาคนดี
คาถาบทที่           ควรปฏิบัติตนและอยู่ในที่ที่เหมาะที่ควรแห่งตน  ทำบุญไว้แต่ปางก่อน
คาถาบทที่           รู้จักฟัง  รู้จักพูด  มีวินัย  ใฝ่ศึกษาหาความรู้
คาถาบทที่           ดูแลบิดามารดา  บุตร  ภรรยาเป็นอย่างดี  ทำงานด้วยความตั้งใจ
คาถาบทที่           รู้จักให้ทาน  ช่วยเหลือญาติพี่น้อง  ทำแต่ความดี  มีสัมมาอาชีพ
คาถาบทที่           ไม่ประพฤติชั่ว  ไม่ละเลยในการประพฤติ  เว้นการดื่มน้ำเมา
คาถาบทที่           ให้ความเคารพผู้ควรเคารพ  มีความอ่อนน้อมถ่อมตน  มีความพอใจในสิ่งที่ตนมี  มีความกตัญญูรู้คุณ  และ รู้จักฟัง  ธรรมในโอกาสอันควร
คาถาบทที่ ๘          มีความอดทน  ว่านอนสอนง่าย  หาโอกาสพบผู้ดำรงคุณธรรมเพื่อสนทนาธรรม
คาถาบทที่           พยายามกำจัดกิเลส  ประพฤติพรหมจรรย์  เข้าใจในความเป็นจริงของชีวิตเพื่อจิตสงบถึงซึ่งนิพพาน
คาถาบทที่ ๑๐        มีจิตอันสงบ  รู้จักปล่อยวางไม่หวั่นไหวกับสิ่งที่มากระทบ
คาถาบทที่ ๑๑        เทวดาและมนุษย์ปฏิบัติสิ่งที่เป็นมงคลเหล่านี้แล้วจะไม่พ่ายแพ้ให้แก่ข้าศึกทั้งปวงมีแต่ความสุขความเจริญทุกเมื่อ